รู้จักกับ Fiducial Mark

   Fiducial mark

    Fiducial mark (ฟิดูเชี่ยว มาร์ค) มีความสำคัญอย่างมากสำหรับ PCB ที่มีการวางอุปกรณ์ SMD ด้วยเครื่อง Pick and Place (Chip shooter) ซึ่ง Fiducial mark คือจุดช่วยระบุตำแหน่งของ PCB และตำแหน่งของอุปกรณ์ต่างๆบน PCB สำหรับเครื่องจักรนั่นเอง หลายท่านอาจจะเคยเห็นมันอยู่บน PCB แต่ไม่รู้ว่ามันคืออะไร ที่จริงมันไม่มีผลต่อการทำงานของวงจร แต่ Fiducial mark มีความสำคัญสำหรับการผลิต การออกแบบ PCB และการตรวจซ่อมวงจรที่มีอุปกรณ์ประเภท BGA หรือ QFP ขนาดต่ำกว่า 20 mils ตอนนี้เราจะมาทำความรู้จัก Fiducial mark กัน     

 

     

รูปที่ 1 แสดงภาพ Fiducial mark


จากรูปที่ 1 แสดงรูปร่างของ
Fiducial mark ที่เป็นที่นิยม รูปวงกลม, รูปสี่เหลี่ยมและรูปเพชรเป็นแบบที่พบเห็นได้ค่อนข้างมากส่วน 3 แบบด้านล่างไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนัก 

 

      
รูปที่ 2 แสดง Fiducial mark ที่แนะนำ โดยขนาด 3 mm เครื่องจะสามารถอ่านได้ง่าย  แต่ถ้าพื้นที่ไม่พอก็สามารถลดลงไปใช้ที่ขนาด 2 mm


Fiducial mark จะถูกจำแนกออกเป็น 2 ประเภทได้แก่
    1. Global Fiducials จะเป็นจุดกำหนด Alignment และตำแหน่งอุปกรณ์ทั้งหมดใน PCB โดยจะทำไว้ 3 จุด โดยที่ทั้ง 3 จุดนี้จะวางตำแหน่งเป็นรูปสามเหลี่ยม ให้ครอบคลุมพื้นที่ให้มากที่สุด (ไม่แนะนำให้ใช้ Fiducial 4 จุดที่มีความสมมาตรกัน เพราะในกรณีที่โหลดแผ่น PCB เข้าเครื่องผิดทาง  เครื่องจะไม่สามารถรู้ได้ว่างานที่เข้ามาผิดทาง)
    ในกรณีที่
PCB มาเป็นลักษณะ Panel (มีหลาย PCB ติดอยู่บนบอร์ดเดียวกัน) และไม่มีพื้นที่พอสำหรับวาง Fiducial เราสามารถจะกำหนดให้มีแต่ Panel Fiducial โดยที่ไม่จำเป็นที่ต้องมี Global Fiducial ก็ได้

   

รูปที่ 3 แสดงตำแหน่ง Global Fiducial และ Panel Fiducial



รูปที่ 4 แสดงตำแหน่ง Global Fiducial (Credit picture: www.storagereview.com)

 

    2. Local Fiducials จะใช้เพื่อกำหนดตำแหน่งเฉพาะตัวอุปกรณ์  โดยจะสร้าง Local Fiducial mark เอาไว้ในแนวเส้นทะแยงมุมของตัวอุปกรณ์ 2 จุด  โดยจะใช้เพื่อหาจุดอ้างอิงของ Land PAD สำหรับอุปกรณ์ Fine pitch ที่มีขนาดต่ำกว่า 20 mils เช่น TQFP,  QFP, BGA  ในกรณีที่มีอุปกรณ์ Fine pitch 2 ตัวอยู่ใกล้กันสามารถใช้ Local fiducial ร่วมกันได้ดังรูปที่ 5

  

รูปที่ 5 แสดงตำแหน่ง Global Fiducial, Local Fiducial และ Shared Fiducial


21 กรกฏาคม 2558
สงวนลิขสิทธิตามพระราชบัญญัตัลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 โดย RLC Innovation Co., Ltd